ความดันโลหิตสูง

แรงดันของหัวใจที่ใช้ในการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยง อวัยวะต่างๆในร่างกายเรียกว่าความดัน และเมื่อความดันโลหิตสูงมากจนเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ โดยเมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบรัดและขยายตัวขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจพองโตขึ้น และอาจก่อให้เกิดอาการหัวใจวายได้

ความดันโลหิตสูง

สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่

  1. พันธุกรรม เพศ อายุ
  2. เกิดจากบางโรคที่เกี่ยวข้องกัน เช่น โรคไต โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอล การตั้งครรภ์ หรือยาบางชนิด
  3. การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดวิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญ
  4. การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กินเกลือมาก ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน กินอาหารที่มีไขมันสูง ภาวะเครียด

อาการของโรคความดันโลหิตสูงมีดังต่อไปนี้

  1. หายใจสั้นและถี่ หรือมีอาการปวดศีรษะ
  2. หูแว่ว ตาพล่า วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน
  3. หัวใจเต้นผิดปกติ
  4. มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140 / 90

 

โภชนาการและการบำบัดตามธรรมชาติ

  • กล้วย ส้ม และมะม่วง มะละกอ ถั่วเหลือง มีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • เครื่องเทศสมุนไพร อาทิ กระเทียม หัวหอม ขิง ขึ้นฉ่าย ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตลดลง
  • ควรกินผักใบเขียว ธัญพืช นมไขมันต่ำ แอพริคอต ที่อุดมไปด้วยแร่แม็กนีเซียม ซึ่งสถาบันโรคหัวใจพบว่า ช่วยลดความดันโลหิตได้ดี
  • เพิ่มการกินผัก ผลไม้สด ถั่ว งา และแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือให้มากขึ้น
  • การกินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เต้าหู้ ซึ่งมีสารเลซิติน ช่วบลดระดับคอเลสเตอรอล
  • กนไขมันที่ดีแทนไขมันสูงจากสัตว์
  • ดื่มน้ำเปล่าวันละ 2 ลิตร หรือสลับกับการดื่มชาเขียว เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล
  • การอกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ความดันดลหิตเป็นปกติ

 

วิตามินเสริม

  • แคลเซียม ควรกิน 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยลดการเกิดความดันโลหิตสูง
  • แม็กนีเซียม ควรกิน 450 มิลลิกรัมต่อวัน และโพแทสเซียม 50-300 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อช่วยลดภาวการณ์ขาดน้ำและลดความดันดลหิต
  • แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) ควรกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน – 4กรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อดรคความดันโลหิตสูง
  • วิตามินบีรวมลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อันเป็นโรคเกี่ยวเนื่องจากความดันโลหิตสูง

*หมายเหตุ* การกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • เกลือ อาหารเค็ม อาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ควรลดการกินเกลือลง
  • หลีกเลี่ยงอาหารพวกตระกุลชะเอม ชะเอมเทศ รากชะเอม ซึ่งเป็นตัวกักเกลือไว้ในร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตสูง
  • ลดการกินอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรกินเกิน 50 มิลลิลิตรต่อวัน
  • ลดปริมาณการกินเนื้อสัตว์และอาหารจำพวกแป้ง

 

ข้อแนะนำ

  • คนอ้วนเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ด้วย
  • การสูบบุหรี่ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • ระวังอย่าให้เครียด เนื่องจากความเครียดทำให้โลหิตสูงขึ้น

อาหารเพิ่มภูมิต้านทาน

อาหารเพิ่มภูมิต้านทาน

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นระบบที่มีความซับซ้อนอาศัยการทำงานของเม็ดเลือดและโปรตีน ที่ช่วยกันพิทักษ์ร่างกายต่อต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เข้ามาสู่ร่างกาย แถมยังช่วยในเรื่องการชะลอความแก่ชรราที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาอีกด้วย ป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลายจากสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งและโรคอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อใดที่ร่างกายของเราอ่อนแอ ก็จะส่งผลต่อเนื่องให้ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแรงลงตามไปด้วย ทำให้สามารถป้องกันโรคภัยได้น้อยลง ทำให้ดูแก่กว่าวัย ดังนั้นหากอยากสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีอายุยืน ดูอ่อนกว่าวัยก็ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

โภชนาการและการบำบัดตามธรรมชาติ

  • กินอาหารที่อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน เช่น แคนตาลูป บร็อกโคลี ฟักทอง แครอต แอพริคอต เพื่อต่อต้านสาอนุมูลอิสระ ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์
  • เลือกกินนมที่มีไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต เนื้อวัว ผักใบเขียว เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีวิตามินบี2 (Riboflavin)
  • กินไขมันจากสัตว์ให้น้อยลง เปลี่ยนมากินไขมันจากปลาหรือพืช เช่น กรดไขมันโอเมก้า -3 และ 6 กรดไขมันโอเลอิกแทน
  • กินอาหารที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และเพิ่มการกินผัก ผลไม้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุนำไปใช้เป็นประโยชน์ และอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระยังช่วยในการป้องกันการเกิดโรคร้าย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน และการเพิ่มการผลิตฮอร์โมนอันเกี่ยวข้องกับการรักษาและต่อสู้โรคร้าย
  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและเผาผลาญพลังงานที่เกินความจำเป็น

วิตามินเสริม

  • วิตามินซี ควรกิน 60 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ทั้งนี้ยังช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคที่เกิดจากไวรัสและเชื้อรา พร้อมทั้งซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ
  • วิตามินบี 6 ควรกิน 2-2.2 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานเป็นปกติ
  • วิตามินอี ควรกินวันละ 10 มิลลิกรัม วิตามินอี ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระที่คอยมาทำลายเซลล์ ทำให้ไม่เสื่อมสภาพง่าย แถมช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยผลัดเซลล์ผิวใหม่ ทำให้ระบบประสาททำงานได้เป็นปกติ
  • สังกะสี ควรกิน 15 มิลลิกรัมต่อวัน ชะลการเสื่อมของเซลล์ จึงช่วยชะลอความแก่ และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง การทำงานของเม็ดเลือดขาวดีขึ้น ปกป้องเชื้อโรคให้แก่ร่างกาย

*หมายเหตุ* การกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ ไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวที่ก่อให้เกิดการสะสมไขมันเกินความจำเป็น
  • ลดการกินอาหารที่ไม่มีคุณค่า เช่น อาหารขยะ อาหารฟาสต์ฟู้ด
  • ลดอาหารจำพวกน้ำตาล สารให้ความหวาน และเกลือ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มกาเฟอีนให้น้อยลง
  • ลดปริมาณการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต จำพวกแป้งที่ผ่านกระบวนการขัดสี

ข้อแนะนำ

  • อย่าปล่อยให้เกิดภาวะความเครียดมากเกินไป หรือปล่อยให้เครียดนานๆ เนื่องจากจะทำให้ระบบต่างๆต้องทำงานหนัก และทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคน้อยลง
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ เพื่อให้เซลล์นำออกซิเจนไปใช้ได้ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอากาศที่เต็มไปด้วยมลพิษ

อัลไซเมอร์ (โรคความจำเสื่อม)

โรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเส้นประสาทในสมอง ส่งผลไปทำลายการทำงานของระบบประสาท และมีผลกระทบต่อร่างกาย ได้แก่เกิดความสับสนในการตัดสินใจ และทำให้ความจำเสื่อม

อัลไซเมอร์ (โรคความจำเสื่อม)

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม ได้แก่

  1. อายุ ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป ร่างกายเสื่อมไปตามวัย
  2. พันธุกรรม พบในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก้จะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้
  3. โรคอื่นๆ เช่น ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก เลือดคั่งในสมอง โรคพิษสุราเรื้อรัง
  4. การใช้ภาชนะอลูมิเนียมในการประกอบอาหาร

 

อาการโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีดังนี้

  • หลงลืมได้ง่าย จำบุคคลรอบข้างและสมาชิกครอบครัวไม่ได้
  • ความสามารถในการจำได้ลดลง
  • มีความคิดสับสน และขี้หลงขี้ลืม
  • มีอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ
  • เหม่อลอย ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้

 

โภชนาการและการบำบัดแบบธรรมชาติ

  • ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 3 มื้อ 5 หมู่
  • อาหารที่ช่วยฟื้นฟุความจำ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ไข่แดง ตับสัตว์ น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน
  • ความจำเสื่อมอาจะเกิดขึ้นจากการขาดวิตามินบี 1 เพื่อป้องกันการเกิดโรคความจำเสื่อม ควรกินข้าวซ้อมมือ บริเวอร์ยีสต์ ธัญพืช และถั่วชนิดต่างๆ
  • กระเทียม เป็นสมุนไพรที่มีงานวิจัยของนักวิจัยชาวฝรั่งเศส ค้นพบว่าช่วยลดความเสื่อมของเซลลืสมองในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี
  • ใบแปะก๊วย ช่วยกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มมากขึ้น ช่วยในการพัฒนาความจำของสมอง
  • แร่สังกะสีพบมากในอาหารจำพวกปู หอย หอยนางรม ตับสัตว์ นมพร่องมันเนย เนื้อหมู เนื้อไก่ ช่วยชะลอการถูกทำลายของเซลล์สมอง
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อย 6-8 แก้ว ในแต่ละวัน หรือดื่มน้ำสลับกับการดื่มชาสมุนไพร น้ำผักผลไม้ เพื่อลดการเกิดความจำเสื่อม
  • กินปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก ที่มีกรดโอเมก้า -3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทุน่า ปลาแมคเรล ปลาซาร์ดีน (พบมากในรูปแบบบรรจุกระป่อง) ช่วยพัฒนาสมอง
  • ฝึกการพัฒนาสมองด้วยการอ่านหนังสือ เกมเสิรมเชาวน์ปัญญา
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสมอง ทำให้สมองผ่อนคลาย

 

วิตามินเสริม

  • วิตามินอี 400 ไอยูต่อวัน มีความจำเป็นต่อผู้สูงอายุ เนื่องจากสมองของผู้สูงอายุจะทำงานไม่มีประสิทธิภาพ วิตามินอีช่วยให้สมองทำงานดีขึ้น
  • วิตามินบี 1 ควรกินวันละ 30-50 มิลลิกรัม เพื่อช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
  • วิตามินซี ควรกินวันละ 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งวิตามินซีมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความจำเสื่อม

*หมายเหตุ* การกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เกลือ น้ำตาล
  • อาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น อาหารใส่ผงชูรส อาหารผสมสี อาหารปรุงแต่งกลิ่นและรส เป็นต้น

ข้อแนะนำ

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากทำให้สมองได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ และยังเป็นการลดการไหลเวียนโลหิตไปสู่สมอง
  • มีงานวิจัยระบุว่า อลูมิเนียมเป็นตัวทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้อลูมิเนียมในการประกอบอาหาร เช่น หม้ออลูมิเนียม กระทะอลูมิเนียม
  • ผู้ที่ดื่มเหล้าปริมาณมากและเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ที่ดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ