สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
เกิดจากร่างกายขาดแร่แคลเซียมหรือไม่ ก็มีไม่เพียงพอ ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง กระดูกบางลง อ่อนแอและชำรุด แตกเสียง่าย โรคกระดูกพรุนมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่
1. ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระดูก ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยทอง
2. อายุ มักพบมากในคนสูงอายุ
3. ขาดสารอาหาร เช่น แคลเซียม โบรอน แมกนีเซียม วิตามินดี เป็นต้น
4. พันธุกรรม
5. การกินเนื้อสัตว์มาก แต่กินผักผลไม้น้อย
อาการ
ได้แก่ มีอาการปวดบริเวณกระดูก ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดแขน ข้อมือ กระดูกสันหลัง หลังงอ ทำให้เตี้ยลง กระดูกแตกหักง่าย และยากที่จะซ่อมแซม
โภชนาการและการบำบัดแบบธรรมชาติ
– กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ครบ 5 หมู่ และครบทั้ง 3 มื้อในแต่ละวัน โดยเน้นผักและผลไม้มาก เพื่อซ่อมแซมกระดูกที่สึกหรอ
– กินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งมีฮอร์โมนไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งดีต่อผู้หญิงวัยทอง และป้องกันการเกิดโคกระดูกพรุน
– เพิ่มการกินอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นมพร่องมันเนย ถั่ว ธัญพืช บร็อกโคลี่ ปลาที่มีกระดูกอ่อน กุ้ง ปลาไส้ตัน น้ำมันงา งา
– เลือกกินอาหารที่มี่ไฟเบอร์หรือกากใยอาหารสูง
– กินน้ำมันปลา น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ ไข่ นม เนย เพื่อให้ได้รับวิตามินดีเพิ่ม
– ออกไปรับแดดยามเช้า เพื่อให้ร่างกายผลิตวิตามินดี แต่ควรหลีกลเยงแสงแดดจ้า
– การออกกำลังเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
วิตามินเสริม
– วิตามินดี ควรกิน 400 ไอยูต่อวัน มีความจำเป็นต่อการดูดซึมและกระตุ้นการทำงานของแคลเซียม
– แคลเซียม สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ควรกิน 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนและโรคกระดูกเสื่อม
– ควรกินโบรอน 3 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนให้แก่ผู้หญิงวัยทอง ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
– แมกนีเซียม ควรกินวันละ 450 มิลลิกรัม ช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดครงสร้างกระดูก
หมายเหตุ การกินวิตามินเสริมควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
– หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดโฟลิก (Phytic) และกรดออกซาลิก (Oxalic) ซึ่งพบในผักโขม โกศน้ำเต้า อัลมอนด์ และช็อกโกแลต
– ลดการกินอาหารที่อุดมไปด้วยโซเดียม เกลือ อาหารที่มีรสเค็มในปริมาณมาก
– ไม่ควรดื่มชา กาแฟ มากกว่า 3 ถ้วยต่อวัน เพราะกาเฟอีนจะต้านฤทธิ์แคลเซียม
– ลดการกินน้ำตาล แป้งขัดสี อาหารฟาสฟู้ด
– งดการกินอาหารไขมันสูงจากสัตว์
ข้อควรระวัง
– ไม่ควรสูบบุหรี่ เนื่องจากไปรบกวนการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน
– ยาลดไข้ ยาแอสไพริน ทำให้ฤทธิ์ของแคลเซียมต่ำลง จึงไม่ควรกิน
– ความเครียดทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง
– ไม่ควรกินแคลเซียมมากจนเกินไป และติดต่อเป็นเวลานานๆจะทำให้เกิดโรคนิ่วในไต ความดันดลหิตสูงตามมา
– การรับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม