ปวดหลัง



สาเหตุของโรคปวดหลัง
ภาวะที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในช่องท้อง เกิดอุบัติเหตุ ความอ้วน ตั้งครรภ์ ไม่สบาย ใส่รองเท้าส้นสูงนานเกินไป มีประจำเดือน เป็นนิ่วในไต ยกของหนัก ใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังมากเกินไป

โรคปวดหลัง

อาการ
เริ่มจากการปวดเมื่อยที่บริเวณแผ่นหลัง และขยายกว้างทั่วแผ่นหลังมากขึ้น หากมีอาการปวดมาก อาจจะเกิดตั้งแต่ก้นกบจนถึงลำคอได้ โดยอาการปวดจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้าปวดเป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจะปวดต่อเนื่องเป็นโรคกระดูกได้

โภชนาการและการบำบัดแบบธรรมชาติ
– กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ครบถ้วน ครบทั้ง 5 หมู่
– เพิ่มการกินอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ผักผลไม้ อาหารไขมันต่ำ เพื่อช่วยให้กระดูกแข็งแรง
– อาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ นมพร่องมันเนย โยเกิร์ตพร่องมันเนย เนยแข็ง บร็อกโคลี ปลากระดูกอ่อน และอาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น ข้าวซ้อมมือ อะโวคาโด ผักโขม ข้าวโอ๊ต กล้วย บร็อกโคลี่
– กรดโอเมก้า -3 ในน้ำมันปลา เป็นกรดไขมันที่ดี ช่วยลดอาการปวดหลังให้หายดีขึ้นได้ หาได้จากปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคคาเรล
– กินตับวัว ไข่แดง นม วอลนัต ถั่วลิสง ข้าวโพด เพราะมีสารไบโอตินที่ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
– ออกกำลังสม่ำเสมอแบบเบาๆ เพื่อลดอาการปวดเมื่อย แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกระดูก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย

วิตามินเสริม
– สังกะสี ควรกิน 30 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
– แคลเซียม ควรกิน 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง
– แมกนีเซียม ควรกินวันละ 200-400 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
– DL-Phenylalanine (DLPA) ช่วยบรรเทาอาการปวด ควรกินวันละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม ต่อวัน
หมายเหตุ การกินวิตามินเสริมควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
– หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงจากพืชและสัตว์
– ลดการกินอาหารที่มีความหวาน น้ำตาล แป้งขัดขาว
– จำกัดเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนให้น้อยลง สารกาเฟอีนจะไปรบกวนการทำงานของร่างกายที่ช่วยรักษาอาการปวด
– ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม เนื่องจากสารเหล่านี้ ต้านการทำงานของแมกนีเซียมและแคลเซียม

ข้อแนะนำ
– อย่ายกของหนักเกินกำลัง ควรหาเครื่องช่วยทุ่นแรง
– พยายามอย่าก้มหลัง ให้ใช้ย่อตัว เมื่อต้องการหยิบของที่ต่ำกว่าระดับเอว
– เลือกเบาะนอนที่รองรับแผ่นหลังได้อย่างดี
– กรดอะมิโน DLPA ห้ามสตรีมีครรภ์ ผู้หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเกินไป
– ลดน้ำหนัก หากคุณมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินมาตรฐานจะมีปัญหาอาการปวดหลัง
– ผู้ป่วยโรคนิ่วในไต และสตรีมีครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน



Comments are closed.