มะเร็งผิวหนัง



ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังคือ การตากแดดจัดๆเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งจะทำให้ผิวหนังไหม้จากแสงแดดที่มีรังสีอุลตร้าไวโอเลตสูง แต่ทั้งนี้โรคมะเร็งผิวหนังก็สามารถที่จะเกิดขึ้นมาจากปัจจัยอื่น เช่น พันธุกรรม การได้รังสี เป็นต้น แต่สามารถป้องกันๆได้ โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนานๆ

มะเร็งผิวหนัง

อาการของโรคผิวหนังแบ่งได้ตามประเภทของมะเร็ง ได้แก่

  1. Malignant Melanoma เป็นเมะเร็งที่มีความรุนแรงมากที่สุด โดยผิวชั้นในที่บริเวณที่เป็นมะเร็งจะบางและแห้ง มีรอยสีดำ หรือน้ำตาลตามผิวหนัง และเนื้อมะเร็งก็จะเติบโตอย่างรวดเร็ว
  2. Squamous cell carcinoma เป็นโรคมะเร็งที่อันตรายรองลงมา เกิดจาการเผาไหม้ของแสงแดด เนื้อมะเร็งจะนูนแดงเป็นก้อนและแพร่กระจายตัวไปอย่างรวดเร็ว
  3. Basal cell carcinoma เป็นมะเร็งที่มีการเติบโตช้า มีลักษณะเป็นก้อนหยาบ มักพบบริเวณลำคอและใบหน้า

มะเร็งผิวหนังส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีผิวขาว และผู้ที่อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน มักจะเกิดในบริเวณศีรษะ ใบหน้า ลำคอ มือ หากพบกาเปลี่ยนแปลงของไฝหรือผิวหนังที่ไม่ได้รูป ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

 

โภชนาการและการบำบัดตามธรรมชาติ

  • กินอาหารให้หลากชนิด เลือกกินผัก ผลไม้สด ธัญพืช เพิ่มขึ้น
  • กินผักผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
  • แครอท มะม่วงสุก ฟักทอง มะละกอ คะน้า บร็อกโคลี มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งและการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • กินปลาสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาทะเลน้ำลึก
  • การกินถั่วต่างๆ เช่นถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วแอลมอนด์ และงา ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้
  • ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
  • วิธีที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด แต่ถ้าจำเป็นต้องออกไปสัมผัส ก็ควรสวมใส่เสื้อแขนยาว ใส่หมวก ทาครีมกันแดด

 

วิตามินเสริม

  • วิตามินเอ กินวันละ 8,000 – 10,000 ไอยู ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้
  • เบต้าแคโรทีน 50,000-100,000 ไอยูต่อวัน ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับวิตามินเอ
  • โคเอนไซม์คิวเทน กินวันละ 30 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันไม่ให้โมเลกุลของไขมันถูกทำลาย ช่วยรักษาผนังเซลล์ให้คงสภาพ

*หมายเหตุ* การกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ลดการกินอาหารไขมันสูง ไขมันอิ่มตัว
  • หลีกเลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง อาหารรมควัน บาร์บีคิว อาหารไหม้ๆ ทำให้เลี่ยงต่อการเติบโตของมะเร็งเพิ่มขึ้น
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีนให้น้อยลง รวมถึงน้ำอัดลม เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ
  • ลดปริมาณการกินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเติบโตของมะเร็ง
  • อาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสี ผ่านกระบวนการแต่ง ควรหลีกเลี่ยง

 

ข้อแนะนำ

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดด ในช่วงเวลา 10 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมงเย็น
  • ทาครีมกันแดดทุกครั้งเมื่อต้องออกกลางแจ้ง
  • ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป และสามารถป้องกันรังสียูวีเอและรังสียูวีบี
  • ถ้าไฝโตขึ้นผิดปกติ หรือรอยไหม้ที่ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียด
  • ควรอยู่ห่างจากยาปฏิชีวนะ สารสังเคราะห์ฮอร์โมน ยาฆ่าแมลง และอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์
  • การกินวิตามินไม่ใช่การรักษาโรคมะเร็ง แต่เป็นการป้องกันการเกิดและบรรเทาเท่านั้น


Comments are closed.