มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งโรคส่งผลให้ประชากรลดลง และเป็นโรคที่เป็นสาเหตุให้เพศหญิงเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ นักวิจัยกล่าวว่า ผู้หญิงทุกคนเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมกันทั้งนั้นแต่จะแตกต่างกันไปเนื่องจากการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ ด้วยกากินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่เสพของมึนเมา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เพศหญิงเป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่
- การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงจากสัตว์ และกินอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำ
- ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกตอนอายุ 30-35 ปี
- ความอ้วน ฮอร์โมนเอสโตรเจน ก็มีส่วนก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมที่อาศัยอยู่ในเซลล์ไขมัน คนอ้วนจึงเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากกว่า
- ประวัติครอบครัว หากเคยมีใครเป็นโรคมะเร็งเต้านม โอกาสที่ลูกหลานจะเป็นโรคก็จะสูงตามไปด้วย
- โรคที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อเต้านม
- ยาที่ผสมฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ยาคุม
- อายุ เช่น ผู้หญิงวัยทองมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่าวัยอื่น
อาการของโรค
ในระยะแรกผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้น เพียงแต่มีก้อนเนื้อที่เต้านมหนาและแข็ง แต่หากปล่อยไว้นานจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ก้อนเนื้อที่พบมีขนาดใหญ่ขึ้น
- เต้านมมีรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม เต้านมข้างหนึ่งอาจจะสูงกว่าอีกข้าง
- ผิวหนังบริเวณเต้านมมีรอยบุ๋ม หือหัวนมมีรอยบุ๋มและมีของเหลว เช่น เลือด หรือน้ำเหลืองไหลออกมา
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โตผิดปกติ
โภชนาการและการบำบัดแบบธรรมชาติ
- ในอาหารแต่ละมื้อ ควรกินผักและผลไม้ในปริมาครึ่งหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินเพียงพอ
- กินอาหาร ผัก ผลไม้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะผัก ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเอ เป็นต้น
- เพิ่มการกินอาหารที่มีกากใยมากขึ้น
- เน้นการกินอาหารที่มีกากใยมากขึ้น
- เน้นการกินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองให้มากขึ้น เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วงอก นอกจากจะไม่ทำให้อ้วนแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมอีกด้วย
- กินอาหารเพื่อสุขภาพ อาทิ ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ เนื้อปลา น้ำมันมะกอก
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่ไม่จำเป็น และลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
- ควรตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือน ถ้าไม่แน่ใจจากการตรวจด้วยตนเอง ควรได้รับการตรวจจากแพทย์
วิตามินเสริม
- วิตามินซี ควรกิน 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง
- เบต้าแคโรทีน ควรกินวันละ 50,000-100,000 ไอยูต่อวัน ในเบต้าแคโรทีนมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเกิดมะเร็ง แหล่งอาหารที่พบได้แก่ แครอท มะละกอ แคนตาลูป
- Genistein พบมากในผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคมะเร็งได้มาก งานวิจัยกล่าวว่า หญิงชาวญี่ปุ่นและชาวจีนเป็นโรคมะเร็งน้อยกว่าร้อยละ 1 ดังนั้นจึงควรกินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองประมาณ 75 กรัมต่อวัน
*หมายเหตุ* การกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
- ระวังเรื่องการกินอาหารเผ็ดร้อนมากๆ อาหารทอด และไขมันอิ่มตัว
- ลดการกินน้ำตาลและเกลือให้น้อยลง
- กินเนื้อสัตว์ในปริมาณที่ลดลง
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากผลการวิจัยระบุว่าผู้หญิงที่ดื่มปริมาณมาก วันละ 1-2 ครั้งทุกวัน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร้งเต้านมถึง 50%
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่สารกันบูด อาการใส่สีอาหารหมักดอง
ข้อแนะนำ
- ไม่ควรใส่เสื้อในเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
- อย่าเลือกซื้อชุดชั้นในที่มีขนาดเล็กกว่าทรวงอก เพาะจะขัดขวางการทำงานของต่อมน้ำเหลือง
- ควรหลีกเลี่ยงรังสีและการเอ็กซเรย์