การหย่อนทางเพศ เป็นภาวะที่เลือดไปหล่อเลี่ยงอวัยวะเพศไม่เพียงพอ ส่งผลให้อวัยวะอ่อนตัวและไม่แข้งตัว แม้ว่าจะได้รับการกระตุ้น การหย่อนสมรรถภาพทางเพศสามารถที่จะรักษาให้หายเป็นปกติได้ โดยการรักษาให้หายขาดก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น เช่น สภาพของจิตใจ ความมั่นใจและการกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยให้อวัยวะเพศแข็งแรงขึ้นและเพิ่มการผลิตเชื้ออสุจิเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่
- อายุ มักเกิดกับผู้ชาย ที่มีอายุ 40 – 70 ปี
- โรคบางชนิด เช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์
- ความเครียด เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมถอยลง
- การกินอาหารที่ไม่มีคุณค่า สูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้าจัด
ผู้ที่หย่อนสมรรถภาพทางเพศมักจะมีอาการดังนี้
- อวัยวะเพศอ่อนตัว ไม่แข็งตัวเต็มที่
- ปริมาณอสุจิลดน้อยลง
- มีการหลั่งอสุจิเร็ว อวัยวะเพศไม่แข็งตัวในขณะร่วมเพศ
- บางรายอาจมีความต้องการทางเพศลดน้อยลง
โภชนาการและการบำบัดตามธรรมชาติ
- กินอาหารให้ครบ 3 มื้อ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน และเน้นการกินอาหารทะเลเพิ่มขึ้น เช่น หอยนางรม ไข่แดง ตับสัตว์ คะน้า ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ส้ม กล้วย องุ่น อะโวคาโด
- กินอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสี เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน ไข่ เนื้อไก่ เป็ด เห็ด ถั่งเหลือง
- เลือกกินอาหารให้หลากหลาย กินผัก ผลไม้สดเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุเพิ่มขึ้น
- กินธัญพืช ถั่วต่างๆ งา เพื่อบำรุงระบบสืบพันธุ์ และป้องกกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มกำลังวังชา
วิตามินเสริม
- วิตามินซี ควรกิน 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศ ช่วยให้อสุจิแข็งแรง
- เบต้าแคโรทีน ควรกิน 10,000-15,000 ไอยูต่อวัน ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย
- สังกะสี ควรกินวันละ 20-30 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับอวัยวะเพศและเพิ่มเชื้ออสุจิ
- แมงกานีส ควรกิน 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อช่วยขับฮอร์โมนทางเพศ และทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานเป็นปกติ
*หมายเหตุ* การกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ เป็นสารต้านฤทธิ์สังกะสี ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง หากจะดื่มควรดื่มแต่พอประมาณ
- ลดปริมาณการกินอาหารที่มีกาเฟอีน ซึ่งพบในชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต ฯลฯ อาจทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- จำกัดปริมาณน้ำตาล แป้ง อาหารที่มีไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่ผสมฟลูออไรด์และคลอดไรด์
ข้อแนะนำ
- สูบบุหรี่ให้น้อยลง ถ้ามีปัญหาเรื่องอวัยวะไม่แข็งตัว
- ความตึงเครียดทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง จึงควรระมัดระวังอย่าปล่อยให้เครียดมาก
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ควรปรึกษาแพทย์
- หากอวัยวะเพศไม่แข็งตัวนานกว่า 1 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา