อาการเส้นเลือดขอด คือการที่ลิ้นภายในหลอดเลือดดำเกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะในบริเวณน่องและขา ทำให้เกิดการคั่งของเลือด เส้นเลือดโป่งพองขึ้น และขดบริเวณดังกล่าว เสียบุคลิกภาพ ไม่น่ามอง
ปัจจัยของการเกิดเส้นเลือดขอด
ได้แก่ 1. พันธุกรรม
2. อายุและเพศ มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงในระหว่างอายุ 30-60 ปี
3. เกิดจากการนั่งและยืนนานๆ
4. สตรีมีครรภ์
5. ความผิดปกติของหลอดเลือดดำ
อาการ
ผู้ที่มีอาการเส้นเลือดขอดจะมีอาการปวดตึงที่บริเวณน่องและขา เกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อ สามารถมองเห็นเส้นเลือดที่โปร่งพองได้อย่างชัดเจน รวมทั้งมีอาการปวด บวมบริเวณขาและหลังเท้า และถ้ามีการคั่งของน้ำเหลืองและเลือดเป็นจำนวนมากอาจจะก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้อีกด้วย มีอาการคัน และเป็นแผลมีน้ำหนองไหลตามมาอีกด้วย บางรายมีการติดเชื้อเนื่องจากบาดแผลนั้นเส้นเลือดขอดไม่ใช่โรค เป็นเพียงอาการ ไม่ร้ายแรง การรักษาจึงไม่จำเป็น ยกเว้นในบางรายที่มีอาการปวดขามาก พบแผลติดเชื้อ และต้องการความสวยงามและบุคลิกภาพ
โภชนาการและการบำบัดตามธรรมชาติ
- กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
- กินอาหาที่มีกากใยอาหารสูง พบมากในผักและผลไม้ ธัญพืช ถั่วชนิดต่างๆ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น เพิ่มการไหลเวียนของเส้นเลือดดำ
- เน้นการกินอาหารที่มสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด อาหารต้านอนุมูลอิสะได้แก่ ผักใบเขียว กีวี ส้ม พริกหยวก เบอรืรี่ เชอร์รี่
- กระเทียม ขิง แปะก๊วย เพื่อลดการอุดตันของหลอดเลือดและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- ดื่มน้ำสะอาดวันละ 1-2 ลิตร เพิ่มการไหลเวียนหิตให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผิวหนังที่มีเส้นเลือดขอด ควรนวดด้วยมอยเจอไรส์เซอร์หรือครีมบำรุงผิวทุกวัน
- การสวมใส่ถุงน่องช่วยลดการเกิดเส้นเลือดขอดได้
- นอนหลับให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ เพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่ และช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น
วิตามินเสริม
- วิตามินซี ควรกินวันละ 1-2 กรัมต่อวัน ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่หนังหลอดเลือด
- วิตามินบี2 ควรกิน 50-400 มิลลิกรัมต่อวัน เพิ่มการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ เพื่อป้องกันการถูกทำลายของเซลล์และหลอดเลือด
- วิตามินอี ควรกินวันละ 200-400 ไอยู เพื่อลดการก่อตัวของอนุมูลอิสระ
- วิตามินบี 6 ควรกินวันละ 15-40 มิลลิกรัม เพื่อช่วยรักษาระดับโซเดียมและโพแทสเซียมซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมของเหลวในร่างกาย
*หมายเหตุ* การกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง
อาหารที่หลีกเลี่ยง
- ลดการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีน รวมถึงการสูบบุหรี่ ทำให้ลดการส่งออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ นม เนย ไอศกรีม วิปปิ้งครีม ครีมชนิดต่างๆ
- ลดปริมาณแป้งขัดสี เช่น ขนมปังกรอบ บิสกิต ขนมเค้ก
- งดเกลือ น้ำปลา สารอาหารที่ให้ความเค็ม เพื่อป้องกันการบวมของเส้นเลือด
ข้อแนะนำ
- หลีกเลี่ยงการยืนและเดินในเวลานานๆ
- อย่าใส่เสื้อที่คับหรือรัดรูปเกินไป
- นอนยกขาขึ้นสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ช่วยลดการคั่งของโลหิต
- พยายามเคลื่อนไหวขาและเท้าให้บ่อยครั้ง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น