เบาหวาน เกิดขึ้นจากการบกพร่องของฮอร์โมนที่มีชื่อว่า อินซูลิน ที่มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมกลูโคส (น้ำตาล) ผ่านไปยังตับและเซลล์กล้ามเนื้อเพื่อเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไป ถ้าอินซูลินถูกการผลิตมากหรือน้อยเกินไปก็จะส่งผลต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานไม่หมด ทำให้น้ำตาลคั่งค้างอยู่ในเลือด และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง ดังนั้นอวัยวะต่างๆในร่างกายอาจจะถูกทำลายและเสี่ยงต่อการทำลายด้วยโรคร้ายต่างๆ
โรคเบาหวาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
เบาหวาน ประเภท 1 คือ เบาหวานพึ่งอินซูลิน มีสาเหตุมาจากตับอ่อนไม่สามารถที่จะผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ทำมีรูปร่างซูบผอม
เบาหวาน ประเภท 2 คือ เบาหวานไม่พึ่งอินซูลิน ประเภทนี้สามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับวัยผู้ใหญ่ วัยชรา คนที่มีรูปร่างอ้วน ซึ่งระบบเผาผลาญร่างกายทำงานน้อยลง
อาการ
- น้ำหนักจะมีการเปลี่ยนแปลง หากเป็นประเภท 1 น้ำหนักจะลดลง และหากเป็นประเภท 2 น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น
- ปัสสาวะบ่อย ส่งผลต่อเนื่องให้ร่างกายขาดน้ำ จึงหิวน้ำบ่อย
- หากมีแผลเกิดขึ้น จะทำให้แผลหายช้า
- ร่างกายไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อยง่าย
โภชนาการและการบำบัดตามธรรมชาติ
- เลือกกินอาหารจำพวกแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
- กินผักที่มีเส้นใยอาหารและวิตามินให้หลากหลาย โดยโดยเฉพาะวิตามินที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น มะระ หน่อไม้ ฝรั่ง ถั่ว แครอท
- กินปลา 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล
- กินสมุนไพร เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ ขิง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหรือถั่วต่างๆ
- กล้วย กะหล่ำปลี ผักกาด มะละกอ ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เป็นอาหารที่ช่วยทำให้การผลิตอินซูลินเป็นไปตามธรรมชาติ
- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อย 8-10 แก้ว
- รักษาน้ำหนักคงที่ และควรกนอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ควบคุมไขมันและน้ำตาล เพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่
- การควบคุมดูแลอาหาร จำเป็นต้องทำอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้อาการบรรเทา และไม่เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคไตวาย เป็นต้น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยทำให้ร่างกายตอบสนองกับอินซูลินได้ดีขึ้น
วิตามินเสริม
- วิตามินอี ควรกินวันละ 400 ไอยู ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
- วิตามินซี ควรกินวันละ 200-500 มิลลิกรัม เพื่อช่วยในการทำงานของอินซูลิน
- โครเมียม ในรูปของวิตามินเสริม ควรกินวันละ 200-400 ไมโครกรัม ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดน้อยลง และช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
- โพแทสเซียม ควรกินวันละ 2,500-5,000 มิลลิกรัม
- สังกะสี ช่วยให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ตามปกติ ควรกินวันละ 15-20 มิลลิกรัม
- การกินวิตามินเสริมควรปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะโครเมียมเพราะอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
*หมายเหตุ* การกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- ห้ามกินอาหารที่ให้ความหวาน น้ำตาล น้ำผึ้ง ขนมหวาน น้ำอัดลม
- งดน้ำผลไม้และผลไม้ที่มีความหวานมาก เช่น ลำไย ทุเรียน องุ่น มะม่วงสุก ละมุด เงาะ เป็นต้น
- ลดการกินอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวจากไขมันสัตว์และพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
- กินเกลือให้น้อยลง เพื่อลดการเก็บกักของเหลวในร่างกาย และลดระดับน้ำตาลในเลือด
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารขัดสี เช่น ข้าว ขนมปังขาว พาสต้า มันฝั่ง ข้าวโพด
ข้อแนะนำ
- ไม่ควรสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน น้ำอัดลม เพราะจะทำให้อาการเลาหวานกำเริบได้
- เข้มงวดกับการกินอาหาให้มาก โดยเฉพาะน้ำตาล ซึ่งมีผล ทำให้โครเมียมต่ำ มีผลต่อดวงตาทำให้ตาบอดได้
- อย่าปล่อยให้เครียด เนื่องจากเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง