โลหิตจาง



โรคโลหิตจาง

สาเหตุของโรคโลหิตจาง
เกิดจากภาวะที่จำนวนเม็ดเลือด หรือเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงมีน้อยกว่าปกติ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโลหิตจาง ได้แก่
1. ขาดวิตามินบี 12 ทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงได้ไม่เพียงพอ
2. ขาดธาตุเหล็ก ทำให้เม็ดเลือดจางซีดกว่าปกติ มักเกิดขึ้นกับคนที่ผ่าตัดกระเพาะอาหารทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กไม่ดีพอ ผู้ที่สูญเสียเลือดเรื้อรัง
3. ขาดกรดโฟลิก ทำให้ผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อย และเม็ดเลือดขาวต่ำ
4. ร่างกายผลิตเดเลือดได้น้อย
5. มีประวัติการสูญเสียเลือดบ่อย เช่น ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมา
6. พันธุกรรม หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคธาลัสซีเมีย ทำให้เปอร์เซ้นการเป็นโรคนี้สูงขึ้น

อาการของโรคโลหิตจาง
ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิด ได้แก่
1. ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
2. ตัวเหลือง ตาเหลือง คล้ายโรคดีซ่าน เกิดจากการแตกตัวของเลือด
3. หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
4. ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานด้อยประสิทธิภาพลง
5. เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ

โภชนาการและการบำบัดตามธรรมชาติ
– กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
– เน้นการรับประทานผักสีเขียวเข้ม ตับสัตว์ ไข่แดง ถั่ว อะโวคาโด ฟักทอง ซึ่งเป็นสารอาหารที่อุดมด้วยกรดโฟลิก
– กินอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ ตับสัตว์ หอย ปลาซาร์ดีน ผักใบเขียว และผลไม้แห้งต่างๆ ช่วยกระตุ้นการผลิตเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
– ส้ม กีวี่ พริกหยวก มะนาว ฝรั่ง เป็นอาหารที่มีวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก ช่วยป้องกันโลหิตจาง
– เพิ่มการกินโปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์
– กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 12 ได้แก่ ตับสัตว์ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ นม เนย ไข่ หอย ปลาหมึก เพื่อให้ไขกระดูกสามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้เพียงพอ
– ผู้ป่วยที่เกิดภาวะขาดเลือดควรกินตับสัตว์เพิ่มขึ้น เนื่องจากตับสัตว์อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและวิตามินบี 12
– ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อไม่ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ

วิตามินเสริม
– วิตามินซี ควรกิน 1,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและทำงานร่วมกับกรดโฟลิก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดที่มีขนาดใหญ่
– วิตามินบี 12 ควรกิน 2-6 ไมโครกรัมต่อวัน มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการแบ่งตัวของเม็ดเลือดแดง
– ธาตุเหล็ก 90 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยป้องกันรักษาภาวะโลหิตจาง
– กรดโฟลิก 400-800 ไมโครกรัมต่อวัน ช่วยให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์มักจะขาดกรดโฟลิกมาก
หมายเหตุ การกินวิตามินเสริมควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
– หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำองุ่นแดง ไวน์ ที่มีส่วนผสมของสารแทนนิน เนื่องจากไปลดการทำงานของธาตุเหล็ก
– ควรหลีกเลี่ยงผักโขม หัวผักกาดหรือบีตรูด น้ำเต้า ชะพลู เมี่ยง อาหารเหล่านี้มีสารไฟเตดต่อต้านการดูดซึมของธาตุเหล็ก
– ลดการกินอาหารไร้คุณค่า อาหาขยะ อาหารที่ผ่านวิธีการผลิตหลายขั้นตอน อาหารที่ใส่สี ใส่ผงชูรส ใส่สารกันบูด
– เกลือ อาหาเค็มๆ ควรลดปริมาณให้น้อยลง
– ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาล อาหารไขมันสูง ไขมันอิ่มตัว

ข้อแนะนำ
– หลีกเลี่ยงการกินยาแอสไพริน ยาลดกรด ถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์
– หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีธาตุสังกะสี จนกว่าระดับธาตุเหล็กในร่างกายคงที่
– หากมีอาการขาดวิตามินบี 12 ไม่ควรกินกรดโฟลิก จนกว่าจะไม่ขาดวิตามินบี 12 และค่อยหยุดกินวิตามินบี 12 หันมากินกรดโฟลิก ถ้ามีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
– ถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ ควรพบแพทย์ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง



Comments are closed.