อาหารบำรุงกระดูก

โครงสร้างของร่างกายที่คอยพยุงและช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหว ก็คือ กระดูก ซึ่งมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ แคลเซียมเป็นตัวหลัก ทำงานร่วมกับฟอสฟอรัส โดยร่างกายจะนำเอาแคลเซียมที่มีในกระดูกไปใช้ในอวัยวะต่างๆ และเมื่อได้รับอาหารที่มีแคลเซียม แคลเซียมเหล่านั้นจะเข้าไปเติมแทนที่ในกระดูกจากการส่งผ่านทางเลือด ให้กระดูกมีแคลเซียมที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรงดังเดิม ดังนั้นหากในเลือดมีแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายก็ต้องดึงแคลเซียมที่อยู่ในกระดูกมารักษาสมดุล อีกหนึ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับกระดูก คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยป้องกันการสลายตัวของมวลกระดูก มักพบมากในผู้หญิงวัยทอง ซึ่งจะทำให้มวลกระดูกน้อย กระดูกเปราะบางง่าย เกิดโรคกระดูกพรุน วิธีป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวคือ การกินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีสและแม็กนีเซียม เป็นต้น

โภชนาการและการบำบัดแบบธรรมชาติ

กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ 3 มื้อ กินอาหารจำพวก ถั่วเหลือง เต้าหู้ ปลาซาร์ดีน บร็อกโคลี ซึ่งอุดมไปด้วยแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข้งแรง ลดการเกิดโรคกระดูกพรุน อาหารที่มีวิตามินดี เช่น นม น้ำมันปลา ไข่ ตับ เนย รวมถึงแสงแดดอ่อนๆ ช่วยกระตุ้นการทำงานของวิตามินดีในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส เลือกกินโปรตีนจากพืชและปลาแทนเนื้อสัตว์ ตับ เนื้อวัว นม เนย […]

กระดูกพรุน

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน เกิดจากร่างกายขาดแร่แคลเซียมหรือไม่ ก็มีไม่เพียงพอ ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง กระดูกบางลง อ่อนแอและชำรุด แตกเสียง่าย โรคกระดูกพรุนมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ 1. ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระดูก ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยทอง 2. อายุ มักพบมากในคนสูงอายุ 3. ขาดสารอาหาร เช่น แคลเซียม โบรอน แมกนีเซียม วิตามินดี เป็นต้น 4. พันธุกรรม 5. การกินเนื้อสัตว์มาก แต่กินผักผลไม้น้อย

อาการ ได้แก่ มีอาการปวดบริเวณกระดูก ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดแขน ข้อมือ กระดูกสันหลัง หลังงอ ทำให้เตี้ยลง กระดูกแตกหักง่าย และยากที่จะซ่อมแซม

โภชนาการและการบำบัดแบบธรรมชาติ – กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ครบ 5 หมู่ และครบทั้ง 3 มื้อในแต่ละวัน โดยเน้นผักและผลไม้มาก เพื่อซ่อมแซมกระดูกที่สึกหรอ – กินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง […]